ผักกาด ผักธรรมดาที่คนไทยนิยมนำไปประกอบอาหาร ซึ่งความจริงแล้วผักกาดถูกจัดเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง ที่มีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคได้มากมายจนหลายคนอาจคาดไม่ถึงผักกาดมี 2 ประเภท คือ ประเภทกินใบ ได้แก่ ผักกาดขาว ผักกาดดำ และประเภทกินดอก เช่น กะหล่ำดอก โดยผักกาดอุดมไปด้วยสารที่ช่วยป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง คนไทยในอดีตมักคั้นเอาเป็นน้ำสด ๆ ใช้อมกลั้วคอเพื่อรักษาอาการร้อนใน และใช้ทารักษาโรคโซไรอะซิส หรือโรคเรื้อนกวาง ขณะที่บร็อคโคลี่ก็ถือเป็นตระกูลเดียวกับผักกาด มีอีกชื่อหนึ่งว่า กะหล่ำดอกอิตาเลียน มีพลังงานมากกว่าผักคะน้า หัวไชโป๊ กะหล่ำดอก ผักกาดขาวปลี(อีลุ้ย) และกวางตุ้งส่วนผักกาดหอม (ผักสลัด) ในทางวิทยาศาสตร์ชี้ว่า ผักในตระกูลนี้รักษาโรคได้ทุกโรค หรือที่เรียกว่า สรรพคุณครอบจักรวาล จึงแนะนำให้รับประทานผักชนิดนี้เสมอ เพราะโดดเด่นมากในเรื่องการป้องกันกระดูกพรุน หูตาพร่ามัว ป้องกันมะเร็ง ในขณะที่แพทย์แผนไทยโบราณได้จัดผักกาดเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง โดยน้ำต้มผักกาดสามารถใช้ดื่มแก้อาการเจ็บคอ ใช้หยอดเป็นยาล้างแผลเรื้อรัง และพ่นแก้อาการหอบหืด ถ้านำผักกาดบดหรือกวางตุ้งบดแล้วคั้นเอาแต่น้ำ ให้ได้ 2 ช้อนโต๊ะ แล้วเทลงไปในน้ำเดือดปริมาณ 1 ถ้วยตวง รอให้อุ่น ดื่มแทนน้ำจะช่วยเสริมพลังงาน ชะลอแก่สรรพคุณของผักกาดไม่ได้มีเพียงเท่านี้ หากลวกใบผักกาดขาว ตัดเป็นท่อน ๆ โรยด้วยเกลือ น้ำส้ม น้ำตาล เหยาะน้ำมันงาบริสุทธิ์ 1 ช้อนชา หมักทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วทานกับข้าวต้มทุกวัน จะช่วยให้ฟื้นตัวจากไวรัสตับอักเสบบีได้รวดเร็ว และถ้านำผักกาดเขียวปลี 1 กิโลกรัมกับแห้วสดครึ่งกิโลกรัม ต้มดื่มเป็นน้ำชา แล้วบีบมะนาวลงไปด้วย ยังจะช่วยขับปัสสาวะและลดความร้อนในร่างกาย ป้องกันโรคนิ่วได้อีกด้วย สรรพคุณหัวผักกาดขาว: มีรสเผ็ดหวาน คุณสมบัติเย็น (เป็นยิน) ช่วยย่อย แก้ไอมีเสมหะ ไม่มีเสียง อาเจียนเป็นโลหิต ท้องเสียเมล็ด: มีรสเผ็ดหวาน คุณสมบัติเป็นกลาง แก้ไอมีเสมหะ และหืด ช่วยให้ย่อย ท้องเสียใบ: มีรสเผ็ดขม คุณสมบัติเป็นกลาง ช่วยย่อย เจ็บคอ ท้องเสีย ขับน้ำนมตำรับยา1. อาการเรอเปรี้ยว: หั่นหัวผักกาดขาวดิบ 3-4 แว่นเคี้ยวกิน2. เสียงแห้งไม่มีเสียง: คั้นน้ำหัวผักกาดขาว แล้วเติมน้ำขิงเล็กน้อยดื่ม3... - Read More
ผักกาด ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง
posted by anuttra yayee in Brassica pekinensis, Chinese Cabbage, dietary fiber, Raphanin, sanooklifeblogs