ปวดหลังมากเลยครับ คุณหมอครับ ผมจะเป็นโรคไตหรือไม่” ผมเชื่อว่าทุกวันที่แพทย์ออกตรวจผู้ป่วย ต้องพบผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังมาหา และผู้ป่วยก็มีความวิตกกังวล กลัวจะเป็นโรคโน่นโรคนี้ต่างๆนานา เช่น โรคไต โรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท (ปวดหลัง:ปวดหลังจากโรคหมอนรองกระดูกสันหลัง) โรคกระดูกพรุน และต้องการตรวจเอกซเรย์คอมพิว เตอร์ แม่เหล็กไฟฟ้า (เอมอาร์ไอ) และอื่นๆอีกมากมาย ยิ่งทำให้แพทย์และผู้ป่วยสับสนมากยิ่ง ขึ้นว่าเป็นโรคอะไรกันแน่ที่ทำให้ปวดหลังลองติดตามบทความนี้กันครับ ท่านจะเข้าใจ “โรคหรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อ เยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome ย่อว่า MPS)” หรือเรียกย่อว่า “โรคหรือกลุ่มอาการเอมพีเอส” มากขึ้น และอาการปวดเมื่อยก็จะไม่ใช่เรื่องยากต่อไป ถ้าท่านเข้าใจเรื่องดังกล่าว กลุ่มอาการเอมพีเอสคืออะไร? มีสาเหตุมาจาก โรคหรือกลุ่มอาการเอมพีเอส คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด โดยเป็นกลุ่มอาการปวดร้าว (Referred pain) และ/หรืออาการของระบบประสาทอัตโนมัติ เนื่องจากมีจุดปวด/จุดกดเจ็บ (Trigger point) ที่กล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อพังผืด โดยพบร่วมกับภาวะกล้าม เนื้อหดตัว (Muscle spasm)กลุ่มอาการเอมพีเอส เป็นสาเหตุที่พบบ่อยมากของการปวดส่วนต่างๆของร่างกาย และน่าจะเป็นสาเหตุอาการปวดจากระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในผู้ป่วยที่ปวดเรื้อรังมากที่สุดกลุ่มอาการเอมพีเอส พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง พบสูงในช่วงอายุ 31-50 ปี พบในผู้ทำ งานที่ต้องอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ เช่น พนักงานสำนักงาน หรือผู้ใช้แรงงานสาเหตุพบบ่อยที่ก่อให้เกิดกลุ่มอาการเอมพีเอส คือ การใช้กล้ามเนื้อมัดที่เกิดอาการ ผิดท่าทาง ซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานๆ และต่อเนื่อง จนเกิดความผิดปกติในการหดตัวของกล้ามเนื้อตำแหน่งนั้นขึ้น อะไรเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดกลุ่มอาการเอมพีเอส? ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการปวดในกลุ่มอาการเอมพีเอส หรือที่ทำให้อาการรุนแรงขึ้น ที่พบบ่อย คือ การใช้กล้ามเนื้ออย่างหนัก ใช้นาน และต่อเนื่อง ซ้ำๆ โดยไม่พัก และการใช้กล้าม เนื้อนั้นในท่าที่ไม่เหมาะสม ร่วมกับความเครียด หรือการพักผ่อนไม่เพียงพอ รู้สึกไม่สบาย (เจ็บ /ปวดกล้ามเนื้อ) และยังฝืนทำงานต่อ ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อมีการหดตัวอย่างต่อเนื่อง และเกิดการสะสมและคั่งค้างของของเสียในกล้ามเนื้อ จึงส่งผลทำให้มีอาการปวดกล้ามเนื้อมากขึ้น อาการปวดจากกลุ่มอาการเอมพีเอสมีลักษณะอย่างไร? อาการปวดจากกลุ่มอาการเอมพีเอสมีลักษณะหรือรูปแบบการปวด ดังนี้ ปวดตื้อๆ ลึกๆ (Deep dull aching) เช่น ปวดบริเวณสะบัก จะปวดคล้ายสะบักจม ปวดร้าว.. - Read More
อาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด หรือ กลุ่มอาการเอมพีเอส Myofascial Pain Syndrome (MPS)
posted by anuttra yayee in back pain, back problems, Muscle spasm, Myofascial Pain Syndrome (MPS), neck pain, office syndrome, pain in the low back, pain low back, pilates bangkok, pilates class, pilates private, pilates reformer, pilates studio, pilates พิลาทีส, Referred pain, Scoliosis, Trigger point |