Your Cart(0)

ออกกำลังกายเพิ่มความยืดหยุ่นสำหรับคนหลังตึง

All 6 movements of the thoracic spineรู้หรือไม่ว่ากระดูกหลังส่วนอกของเราสามารถเคลื่อนไหวได้ 6 ทิศทาง?ก้มไปด้านหน้า (flexion) แอ่นไปด้านหลัง (extension) หมุนไปทางซ้ายและขวา (rotation) โน้มไปทางซ้ายและขวา (lateral flexion) What we are doing in our daily lives is... ในชีวิตประจำวันของเรามักจะมีแต่การก้มไปด้านหน้าเป็นส่วนใหญ่ เช่น นั่งอ่านหนังสือหรือใช้คอมพิวเตอร์ เอื้อมมือหยิบของทางด้านหน้า ทำให้ขาดการเคลื่อนไหวทิศอื่นๆ และถ้าหากข้อต่อขาดการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน จะทำให้เนื้อเยื่อรอบๆข้อต่อ ทั้งกล้ามเนื้อ (muscles ), เอ็นที่หุ้มอยู่รอบข้อต่อ (joint capsule) รวมถึงพังผืด หรือเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (fascia) ขาดความยืดหยุ่น และยิ่งปล่อยให้ร่างกายขาดการเคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ ถูกจำกัดในท่าเดิมๆ จนข้อต่อเคลื่อนไหวได้น้อยลง (hypomobility) และอาจนำไปสู่ภาวะข้อต่อยึดติด (joint stiffness) ซึ่งอาการที่มักพบได้บ่อยคือ มีอาการหลังตึง รู้สึกติดขัดเวลาเอี้ยวตัว บิดหมุน หายใจได้ไม่ทั่วท้อง หรืออาจมีอาการปวดเมื่อยเรื้อรังได้ It’s not only about the thoracic spine ปัญหาขาดความสามารถในการเคลื่อนไหวนี้ ไม่ได้อยู่แค่ที่กระดูกสันหลัง แต่ยังเป็นสาเหตุของอาการปวดคอบ่าไหล่ และภาวะไหล่ห่อ หลังค่อม หรือ ภาวะ office syndrome รวมถึงภาวะข้อไหล่ติด อาการแสดงที่สามารถสังเกตได้ คือ เวลายกแขน หรือเอาแขนไขว้หลังแล้วรู้สึกติดขัด นั่นเป็นเพราะว่าข้อไหล่และหลังส่วนบนระดับอกของเรานั้นถูกเชื่อมติดกัน เมื่อกระดูกสันหลังขาดความยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้ไม่ดี ข้อไหล่ก็จะเคลื่อนไหวได้น้อยลงด้วย อีกปัญหาที่พบได้บ่อยมาก คืออาการปวดหลังล่าง ปวดตึงหลัง รู้สึกเอวสองข้างไม่เท่ากัน Compensation of the body จากแค่ปัญหาขาดความสามารถในการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังระดับอก ก็สามารถส่งผลเสียต่อปัญหาข้อต่ออื่นได้ เพราะทุกอย่างนั้นถูกเชื่อมโยงเข้าหากัน และต่างส่งผลถึงกันและกันในการเคลื่อนไหว และอีกหนึ่งหลักกลศาสตร์ของร่างกายที่อธิบายไว้ว่า ถ้าข้อต่อใดถูกจำกัด ข้อต่อข้างเคียงจะต้องเคลื่อนไหวมากขึ้น เป็นกลไกการชดเชยของร่างกาย ถ้าหากข้อต่อที่ถูกทำชดเชยนั้นต้องเคลื่อนไหวมากจนเกินธรรมชาติที่ควรจะเป็น จนทำให้เกิดปัญหาข้อต่อหลวม ขาดความมั่นคง..  - Read More

Herniated Disc - Static posture how to fix with Pilates

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคยอดฮิตของคนปวดหลัง!! แก้ง่าย ๆ ด้วย Pilates โดยนักกายภาพบำบัด คุณเคยมีอาการเหล่านี้หรือไม่? นั่งนานแล้วรู้สึกปวดแปล๊บ/ตื้อที่กลางหลัง ก้มตัวหยิบของแล้วมีอาการปวดหลังมากขึ้น? เจ็บแปล๊บตามแนวกระดูกสันหลัง? เจ็บแปล๊บตามแนวกระดูกสันหลังขณะไอ,จาม? ชาร้าวลงขา? อาการเหล่านี้ล้วนเป็นอาการเบื้องต้นของภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท (Herniated Nucleus pulposus) หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า “หมอนรองกระดูกทับเส้น”ในปัจจุบันพบว่ากลุ่มลูกค้าที่มักมาด้วยอาการเหล่านี้พบได้หลากหลายสายอาชีพมาก ไม่ว่าจะเป็นพนักงานออฟฟิศทีต้องนั่งทำงานนานๆ , ก้มยกของหนักบ่อยๆ หรือแม้กระทั่งคนที่ออกกำลังกายหนัก แต่จัด alignment ผิด!! ก็ทำให้เป็นโรคนี้ได้เช่นกันแล้วจะทำยังไงถ้าเกิดยังต้องใช้ชีวิตเป็นมนุษย์นั่งทำงานนาน ออกกำลังกายหนักหรือต้องใช้ชีวิตประจำวันอยู่ หรือต้องพักทุกอย่างเลย? ไม่ต้องถึงขั้นนั้น เรายังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ ซึ่งเราอาจจะต้องปรับเปลี่ยนท่าทาง การใช้ชีวิตบางอย่างเพื่อให้โรคนี้มันไม่เป็นมากขึ้นกว่าเดิม ยังคงสามารถออกกำลังกายได้ แต่ก็ไม่ใช่การโหมหนักเท่าเดิมPilates เป็นการออกกำลังกายแกนกลางให้แข็งแรงและเสริมสร้างกล้ามเนื้อส่วนที่สำคัญช่วยรับน้ำหนักของกระดูกสันหลัง โดยนักกายภาพบำบัดโดยตรง pilates จึงเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสมและพอดีกับร่างกายที่ยังอยู่ในภาวะอ่อนไหวง่ายมากๆต่อการเจ็บปวดและอยู่ในการดูแลของนักกายภาพบำบัด การกลับมาสู่ normal posture คือยารักษาที่ดีที่สุดของมนุษย์เรา Herniated disc Popular disease of people with back pain !! Easy fixes with Pilates, by physical therapists. Have you ever had these symptoms or not? Sitting for a long time and feel pain in the middle of the back Bending to pick things and suddenly back pain? Is it painful to hit along the spine? Pain that..  - Read More

Cervical HNP & spondylosis

Cervical HNP & spondylosis อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่เกิดขึ้นบริเวณคอ ส่วนมากอาการจะเป็นบริเวณ คอ บ่าไหล่ คล้ายๆกับ อาการของผู้ที่มีอาการ office syndrome หลายคนจึงเข้าใจผิดและรักษาด้วยการ นวด หรือ ยืด ตามอาการปวดตามที่นั้นๆ แต่ถ้าอาการที่เกิดขึ้นมาจาก หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท จะไม่สามารถบรรเทาอาการได้ กลไกการเกิดของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดขึ้นจากการมีความผิดปกติของ โครงสร้าง กระดูกสันหลังส่วนคอ มีแรงกด บีบ ทำให้หมอนรองเกิดการปลิ้นออกมาทับเส้นประสาท การแก้ไข จึงต้องทำให้กระดูกสันหลังส่วนคอกลับมาอยู่ในท่าเดิมที่แข็งแรง วิธีการก็คือ สร้างกล้ามเนื้อ รอบๆคอในส่วนที่ weak ให้แข็งแรง และ กระตุ้นให้ core stabilizer muscle ทำงาน ส่วนการออกกำลังกายนั้น สามารถทำได้ แต่ต้องระวัง เนื่องจาก การทำงานของกล้ามเนื้อยังไม่balance กันทั้ง 2ฝั่ง เวลาออกกำลังกายอาจจะมีการเกร็ง ฝั่งหรือด้านที่ มีการปวดอยู่แล้วขึ้นมาได้อีก ดังนั้นขณะออกกำลังกาย เราจึงควรรู้ท่าท่าที่ถูกต้องก่อน และค่อยๆฝึกไปทีละส่วนของร่างกาย แยกส่วนของกล้ามเนื้อ เพื่อการฝึกที่ง่ายและโฟกัสได้ตรงจุดมากขึ้น ส่วนท่าที่ควรหลีกเลี่ยง ท่าก้ม เงย มากเกินไป และไม่ค้างนาน การออกกำลังกาย ควรทำในลักษณะ กล้ามเนื้อมีการหดแบบยืดยาว เพื่อยืดข้อต่อ ไม่ให้ไปกดทับเส้นประสาท Herniated disc symptoms that occur in the neck. Most of the symptoms are neck, shoulder and shoulder, similar to those of people with office syndrome, so many people misunderstand and treat them with massage or..  - Read More

Pelvic floor dysfunction หรือภาวะกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อน

Pelvic floor dysfunction หรือภาวะกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อน วันนี้ว่ากันด้วยเรื่อง Pelvic floor dysfunction หรือภาวะกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อน มักมีอาการปัสสาวะเล็ด กั้นปัสสาวะไม่อยู่ ซึ่งจะสามารถเกิดได้ส่วนใหญ่ในผู้สูงอายุ หรือคุณแม่หลังคลอด แต่แท้จริงแล้วภาวะนี้สามารถเกิดได้กับทุกๆคนที่มีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือคนที่กระตุ้นการทำงานกล้ามเนื้อกลุ่มนี้โดยไม่จำเป็น เช่น ผู้ที่กั้นปัสสาวะบ่อยๆ โรคทางพันธุกรรมบางชนิด รวมไปถึงคนปกติที่ไม่เคยตั้งครรภ์ แต่ไม่ออกกำลังกายแกนกลาง เดินห่อไหล่ หลังแอ่น กล้ามเนื้อ relax ตลอดเวลา เมื่อแก่ตัว อายุมากขึ้น วัยหมดประจำเดือน ฮอร์โมนถดถอย กล้ามเนื้อหย่อนยาน เหมือนท้องแขนที่เหี่ยวเป็นถุงกาแฟฉันท์ใด กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานก็หย่อนยาน ฉันท์นั้น    กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานมีบทบาทในการรองรับอวัยวะภายในร่างกาย รวมถึงช่วยในการทรงตัวเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ทำหน้าที่ “หดเกร็ง” เพื่อกลั้น ปัสสาวะ ผายลม อุจจาระ, กลั้นชะลอการหลั่งขณะมีกิจกรรมทางเพศ, กลั้นเบ่งเวลาคลอด และมันก็มีหน้าที่ “ผ่อนคลาย” relax ขณะที่เราปลดปล่อยปัสสาวะ อุจจาระ และผายลม กล่าวคือควบคุมระบบการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ไปจนถึงมีบทบาทในเรื่องกิจกรรมทางเพศเพราะเป็นกล้ามเนื้อที่เชื่อมกับช่องคลอด หลายคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีกล้ามเนื้อนี้อยู่ในชีวิต เลยไม่เคยสนใจมันเลย!!! การออกกำลังกายพิลาทิสจะช่วยป้องกันภาวะ Pelvic floor dysfunction เนื่องจากช่วยส่งเสริมการทำงานและความแข็งแรงในกับกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานโดยตรง ร่วมกับการทำงานควบคุมกล้ามเนื้อแกนกลางของร่างกาย สามารถเล่นได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง ถ้าหากมีข้อสงสัยว่าตัวเองมีภาวะนี้หรือเปล่า ลองดูเช็คลิสต์นี้ผู้หญิงที่อายุยังไม่มากหลายคนมีอาการแบบนี้:: กลั้นปัสสาวะยาก, มีลมออกช่องคลอด, กลั้นผายลมยาก, วิ่ง กระโดด หรือเต้นแรงๆหน่อย มีอาการหน่วงท้องน้อย หรือปัสสาวะกระฉอก, จาม หัวเราะ ไอ แล้วปัสสาวะเล็ดออกมา รู้หรือไม่อาการเหล่านี้ไม่ได้มีแต่ในผู้สูงวัย มีคนมากมายที่เป็นแต่ไม่ได้บอกใคร ปล่อยไว้จนเป็นเรื่องปกติ (แต่มันไม่ใช่เรื่องปกติ ยิ่งอายุมากขึ้นก็จะยิ่งหายยาก และอาการเหล่านี้ไม่สามารถหายเองได้และไม่สามารถหายได้จากการกินยาด้วยนะรู้มั๊ย)คนที่มีภาวะกลั้นยาก อาจส่งผลไปยังสภาพจิตใจ เช่น สูญเสียความมั่นใจในการเข้าสังคม ทำให้หมดโอกาสในการทำกิจกรรมหลายๆอย่าง เช่น เดินทางไกล ทำกิจกรรมที่ต้องห่างจากห้องน้ำหลายๆชั่วโมง เช่น ดูหนัง ดูคอนเสิร์ต นั่งรถนานๆ (กลัวกลิ่นปัสสาวะรบกวนคนอื่น, กลัวเสื้อผ้าเปื้อนโดยไม่รู้ตัว, วันนึงต้องเปลี่ยนชั้นในหลายๆตัว เป็นต้น)ไม่อยากเกิดปัญหากลั้นยาก พวกเราผู้หญิงทุกคนควรออกกำลังกายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน อย่างสม่ำเสมอ..  - Read More

เคยมีอาการเจ็บที่ส้นเท้าจนลามไปทั่วฝ่าเท้า เมื่อลุกเดินก้าวแรกหลังจากตื่นนอนมั๊ย

    เคยมีอาการเจ็บที่ส้นเท้าจนลามไปทั่วฝ่าเท้ามั๊ย? โดยเฉพาะจะมีอาการปวดมากที่สุดเมื่อลุกเดินก้าวแรกหลังจากตื่นนอน หรือหลังจากนั่งพักเป็นเวลานาน หากเคย นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของ “โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ” หรือที่มักจะรู้จักกันในชื่อ "โรครองช้ำ" เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยจะพบมากในผู้ป่วยอายุ 40 ปีขึ้นไปสาเหตุของโรคอาจเกิดได้จากการรับน้ำหนักเป็นเวลานาน ทำให้เอ็นที่ฝ่าเท้ารับน้ำหนักมาก พบได้บ่อยในผู้ที่ต้องยืนเป็นเวลานานในระหว่างวัน เช่น  ผู้ที่ต้องยืนตลอดกะการทำงานทั้ง 8 ชั่วโมง หรือนานกว่านั้น น้ำหนักตัวมาก น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอาจก่อให้เกิดพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบได้ สวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม เช่น รองเท้าที่ไม่มีพื้นบุรองส้นเท้า ลักษณะการทำกิจกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น เพิ่มระยะทางการวิ่งออกกำลังกาย การเดิน/วิ่งบนพื้นผิวที่ต่างไปจากเดิมหรือบนพื้นผิวแข็ง (เช่น พื้นซีเมนต์หรือคอนกรีต) เอ็นร้อยหวายยึด ทำให้ส้นเท้าไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์หรือข้อสันหลังอักเสบ อาจทำให้มีโอกาสเกิดการอักเสบที่เส้นเอ็นในจุดใดจุดหนึ่งที่เชื่อมต่อกับกระดูก ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบได้ ปัจจัยทางโครงสร้างร่างกาย เช่น เท้าแบนเกินไป อุ้งเท้าโก่งมากเกินไป หรือเส้นเอ็นยึดบริเวณน่องทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อเท้าได้ตามปกติ  สำหรับการรักษาโรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบทำได้โดย1️⃣ รับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)2️⃣ ใช้อุปกรณ์เกี่ยวกับกระดูก เช่น อุปกรณ์เสริมอุ้งเท้าด้านใน (arch support) และ/หรืออุปกรณ์รองรับส้นเท้า (heel cushion)3️⃣ ทำกายภาพบำบัด ได้แก่ การฝึกยืดเอ็นร้อยหวาย ซึ่งจากการศึกษาพบว่าเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ4️⃣ ฉีดสเตียรอยด์ แต่เป็นวิธีที่ไม่นิยมนัก โดย 98% ของผู้ที่ได้รับการฉีดสเตียรอยด์จะรู้สึกดีขึ้น แต่ต้องใช้เวลานานถึง 18 เดือนจึงจะหายขาด และในบางครั้งโรคอาจเกิดขึ้นมาได้อีก ทั้งนี้ การรักษาโรคนี้โดยส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด เพราะอาจทำให้เกิดความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ การเจ็บปวดต่อเนื่อง การที่เส้นประสาทเล็กๆ บริเวณฝ่าเท้าได้รับการกระทบกระเทือน ซึ่งอาจทำให้เกิดความรู้สึกชาและเหมือนมีเข็มตำที่ส้นเท้า นอกจากนี้การผ่าตัดนำพังผืดออกอาจส่งผลให้ฝ่าเท้าแบนอีกด้วยแม้จะดูเหมือนโรคนี้ไม่อันตรายร้ายแรง แต่ก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษา เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวันได้ หากมีอาการปวดส้นเท้าผิดปกติควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป สนใจนัดปรึกษากับนักกายภาพบำบัดแบบไม่มีค่าใช้จ่ายได้โดยตรง ที่ : The Balance Studio อาคารอินเตอร์เชนจ ชั้น B2 ฝั่งเดียวกับ Terminal 21 เชื่อม Skywalk จาก BTS อโศก ทางออกที่ 6 และ MRT..  - Read More

ระวังไดเอทแบบผิดๆ ลดความอ้วนด้วยผลไม้อย่างเดียว

ระวังการไดเอทแบบผิดๆ ! ลดความอ้วนด้วยผลไม้อย่างเดียว ฟังดูเหมือนจะเป็นความคิดที่ดี

 " แดกแต่ผลไม้ตอนเย็นอย่างเดียวจนหน้าจะเป็นลิงกังแล้วทำไมน้ำหนักถึงไม่ลงซักทีฟร่ะ? ”  
" อดข้าวเย็นทุกวันแล้ว ทรมานฉิบหาย แต่ทำไมพอกลับมากินแค่มื้อเดียวน้ำหนักมันพุ่งพรวดแบบนี้ฟร่ะ? " 
ข้อเท็จจริง : ผลไม้ มันก็คือ คาโบไฮเดรตชนิดนึงนั่นล่ะ แต่เป็นคาโบไฮเดรตเชิงซ้อน แถมบางชนิดเสือกมีดัชนีน้ำตาลสูงเข้าไปอีกแน่ะ..แล้วธรรมชาติของคาโบฯ คือ จะสามารถเก็บสะสมส่วนที่ทานมากเกินไปเป็นพลังงานสำรองได้ เช่น แอปเปิ้ลเขียวที่ใครๆก็แนะนำว่ากินสิแล้วจะผอมน่ะ ลูกนึงให้คาโบฯประมาณ 24 กรัม บางคนกินตอนลดน้ำหนักครั้งละ 5-6 ลูก ก็ลองคูณดูละกันว่าจะได้พลังงานเท่าไหร่!!! ถ้ากินไปเกินเท่าไหร่ร่างกายก็เก็บสะสมเป็นไขมันเท่านั้นแหละ ยิ่งถ้าเราไม่มีกิจกรรมที่ใช้พลังงานมากมายก็อย่าสต๊อกคาโบฯเยอะเกินไปจะดีที่สุดนะอย่างที่สอง การอดอาหารเย็น จะได้ผลเรื่องน้ำหนักตัวช่วงแรกๆสั้นๆเพราะพลังงานขาด จากนั้นพอร่างกายคุ้นเคยกับการอดก็จะปรับระดับการเผาผลาญพลังงานลงมาให้พอดีกับที่กิน และเก็บสะสมพลังงาน (ในรูปแบบไขมัน) มากขึ้นเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้..คราวนี้แหละพอเรากลับมากินแม้เพียงมื้อเดียวร่างกายจะเก็บสะสมมื้อเย็นมื้อนั้นทั้งหมดเลย ผลก็คือ อ้วนทันตาเห็น แจ่มป่ะ?!? 
วิธีที่ดีที่สุดคือ การกินอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย โดยไม่ต้องไปลด อย่ากินให้เกินก็พอ เลือกอาหารที่จะกินโดยเฉพาะคาโบฯกับไขมัน แล้วก็แบ่งเวลาไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่มีคนที่ไม่มีเวลาออกกำลังหรอก มีแต่คนที่ไม่แบ่งเวลาให้มันต่างหากล่ะ กับคนที่หาข้ออ้างเพราะขี้เกียจออกกำลังกาย...อย่าลืมสิว่ายังไงซะนี่ก็คือชีวิตของเราเอง ถ้าเราไม่สนแล้วใครมันจะมาสนใจเราล่ะ..จริงมั๊ย?  - Read More

Sukhumvit soi 21, Interchange Building B2 Floor Bangkok, 10110 Thailand 081 660 0864

We Accept...

We Accept Visa We Accept Mastercard We Accept PayPal